วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชุมชน กับ อาเซียน AEC



อีกสองปีแล้วครับที่ อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุ ประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
                ดูดีไหมครับ ผมยกแค่ประโยคหลังสุด “การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก”  ถ้าเป็นไปตามวัตถุประสงค์จริงงานนี้ล่ะครับ “ปวงชนชาวไทยจะกลับมา”
กลับมาใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองบนแผ่นดินที่อาศัยของตนเอง
                ชุมชนจะปรับตัวอย่างไรในการเปลี่ยนแปลง
1.              ความรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
2.             กติกาสังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
3.             วิถีอยู่วิถีกินเป็นอย่างไร
4.             ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ อย่างไร 
ที่กล่าวมาต้องตั้งประเด็นไว้ก่อน เพราะต้องใช้เครื่องมือมาก ไม่ว่าจะเป็น
การอบรม การบรรยาย การทดลอง การทำกระบวนการเรียนรู้ ฯลฯ ที่ต้องใช้ภาคีเข้าร่วม และก็ต้องเหมือนเดิมกว่าจะขยับกันได้ก็ต้องรอให้เกิดกรณีปัญหาขึ้นมาก่อน แล้วถึงจะมา “ล้อมคอก” ที่หลังทุกที

 


สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งขมิ้นและกลุ่มสภาฯของอำเภอนาหม่อม ไม่ใช่ “ผู้วิเศษวิโส”มาจากไหนแต่พอมีความตระหนักอยู่บ้าง จึงจะจัดทำแผนชุมชนในมิติของตนเองบนพื้นฐานข้อมูลจริงๆในพื้นที่ ทำข้อมูลเพื่อบริการกันเอง จากผลการทำข้อมูลในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา ตลอดถึงเศรษฐกิจชุมชน  จะเห็นได้ว่ามีครบองค์ประกอบ แต่ที่ผ่านมา “ใช้เครื่องมือไม่ถูก”  ก็ยังพอทำเนา แต่ไอ้ประเภทที่ “กีดขวางเครื่องมือ” นี้ล่ะซิ นี้ล่ะซิ เวรกรรมจริงๆ  โดยเฉพาะคนที่กีดกันเสือกมีความรู้ดี และมีอำนาจในมืออีกด้วย....ชุมชนจะทำอย่างไร
                สงครามการแบ่งแยกเริ่มเกิด ใครพวกกู ใครญาติพี่น้องกู ต้องมาก่อน แผ่นดินฉิบหายช่างแมร่งมัน ช้าก่อนท่านผู้เจริญทางวัตถุนิยมและอำนาจนิยม ท่านจะสำคัญตัวอย่างไรสุดแท้แต่ ในความเป็นจริงที่ท่านลืมไปคือ ท่านกำลังเหยียบหัวพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่เป็นรากเหง้าท่านอยู่ และเป็นผู้ละเว้นการปฏิบัติการตอบสนองนโยบายของภาครัฐโดยสิ้นเชิง เพราะทุกรัฐบาลต้องการรักษารากเหง้าไว้ทั้งนั้น หลังๆจึงใช้คำว่ารากหญ้าแทน ทุกรัฐบาลทำงานเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่เคารพรักทั้งนั้น หรือท่านว่าไม่จริง??? เอาล่ะไม่สาธยายไปมากกว่านี้แล้ว เพราะประชาชนพูดมาเยอะแล้ว


ถึงคณะรัฐมนตรีตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน มาตรา ๓๒ (๓)  หากท่านขอให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ประเมินว่าสิ่งที่รัฐบาลออกนโยบายมาให้ประชาชน และประชาชนเข้าถึงสิทธิได้เพียงไร ตัวชี้วัดนี้ล่ะครับที่จะตอบ จีดีพีได้เป็นอย่างดีไม่ต้องเปลืองงบไปทำสถิติมาหลอกตาให้พ้นปัญหาความน่าเชื่อถือไปวันๆ  

สภาองค์กรชุมชน จึงเป็นทางออกของปวงชนชาวไทยทุกคน ไว้ต่อตอนหน้า



 

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ชุมชนเข้มแข็ง วาทกรรมแห่งยุคประชาธิปไตยในทุนนิยม



สวัสดีครับปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย ปีใหม่แล้วครับเป็นปีที่ 86 แห่งประชาธิปไตยแบบตัวแทน ประชาชนให้อำนาจผู้อื่นไปใช้แทน

ปีที่แล้วผมได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนที่ประชุมระดับจังหวัดตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน 2551 มาตรา 27 (5) ผมเองก็ได้ไปร่วมประชุมในระดับชาติ ไปด้วยหัวใจที่มีความหวังว่าจำได้นำความรู้ความเข้าใจมาบอกต่อชุมชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่จะต่อใช้ประชาธิปไตยแบบตัวแทนเสียที เพราะ 86 ปี ถ้าเป็นอายุคนก็ต้องแตกฉานหมดทุกเรื่องแล้ว ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเกินเต็มที่แล้ว


การได้รับหน้าที่นี้มาก็พยายามจะบอกเก้าเล่าสิบเพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมระดับชุมชนที่มีความแตกต่างในบ้านแห่งสภาองค์กรชุมชนด้วยกันคือ

1.      สภาฯที่กลมกลืนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.     สภาฯที่มีส่วนร่วมเป็นครั้งคราวกับท้องถิ่น

3.     สภาฯที่อยู่ตรงกันข้ามกับท้องถิ่น

ไม่แปลกหรอกครับมันเป็นเรื่องธรรมดาของการทำงานเพื่อสังคมระหว่างผู้มีอำนาจหน้าที่และผู้มีจิตอาสาที่จะ

เข้ามามีส่วนร่วม จากการสังเกตและจับประเด็นหน่อยๆ (ไม่อยากจะใช้คำว่าวิเคราะห์)พบว่า ความรู้ความเข้าใจของผู้นำทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน และที่สำคัญคือการยึดถือตนเองเป็นใหญ่ และที่พบบ่อยๆก็คือผู้นำทางฝ่ายองค์กรชุมชนเป็นผู้เคยลงสมัครเพื่อไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมาก และตัวชี้วัดได้คือ เวลามีการเปิดรับเลือกตั้งทางการเมืองผู้นำทางฝ่ายองค์กรชุมชนก็จะย้ายไปลงสมัครรับเลือกตั้ง และเช่นเดียวกันผู้ผิดหวังทางการเมืองก็กลับมาทำงานทางฝ่ายองค์กรชุมชน มันจึงเป็นปฐมบทที่การขับเคลื่อนภาคประชาชนหรือที่นักวาทกรรมเรียกว่า “พลเมือง” เคลื่อนตัวไม่ได้ แล้วใยจะมีความเป็นจริงของ “ชุมชนเข้มแข็ง”

                การยอมรับผู้นำจอมปลอมที่เรียกตนเองว่าประชาธิปไตย “ผู้นำ” ประโยคนี้ทำให้ผมต้องเลิกกิจวัตรประจำวันที่ถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมของตนเอง เกือบจะกลายเป็นประเพณีไปอยู่แล้วคือ “การดื่มสุรา”  แม่ด่าว่ากล่าว พี่น้องเตือน เมียขอ กี่ปีกี่ปีไม่เคยสนใจ โดยเฉพาะกับเมียซึ่งมีการชันชี(การตกลง)ก่อนที่จะแต่งงานกันแล้วว่า “ถ้ารับไม่ได้เรื่องการดื่มสุราก็อย่าแต่งงานกันเลย แต่งไปก็เลิกกันอยู่ดี” และแล้วผมก็ต้องเลิกโดยเด็ดขาดเพราะ การต่อสู้เพื่อชุมชนครั้งนี้ เดิมพันอยู่ที่อนาคตของชาติ อีกอย่างเป็นการตอบแทนหลายๆคนที่ให้ความไว้วางใจในการเป็นผู้นำองค์กรชุมชน และต้องเป็นผู้นำที่เป็นผู้รับใช้ประชาชน การเสียสละความสุขความสำราญส่วนตัวอย่างน้อยก็เป็นกำลังใจให้คนหลายๆคนที่อยากจะส่งเสริมเราให้เขาได้รับความสุขนั้นเช่นกัน

                ความจอมปลอมที่เรียกตนเองว่าประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญกล่าวไว้ชัดครับว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แล้ววันนี้ปวงชนชาวไทยยังมอบอธิปไตยให้ตัวแทนไปใช้ ไม่จอมปลอมจะเรียกอะไร การที่ผู้นำเป็นใครก็ได้หรือแม้กระทั้ง “เสาไฟฟ้า” ดูเอาเถอะครับความ “อับปรี” ของผู้นำในฐานะ “นักการเมือง” เอาอำนาจปวงชนชาวไทยไปใช้ แล้วออกตัวบทกฎหมายยกอภิสิทธิ์ตนเอง ข่มแหงผู้อื่น มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง มีกฎหมายรองรับ แทนที่จะรักษาไว้ซึ่งกฎมณเฑียรบาล บางประการที่ให้โทษประหารถึง 7 ชั่วโคตรเอาไว้ เป็นกฎที่รักษาบ้านเมืองนี้มาเป็นร้อยๆปี จนเกิด พรบ.สภาองค์กรชุมชนขึ้นไม่นานนี้เอง และ พรบ.สภาองค์กรชุมชนนี้ล่ะคือการคืนอำนาจให้แก่ปวงชนชาวไทย เป็นผลงานชิ้นเดียวที่นักประชาธิปไตยคิดได้

                ทุนนิยม ในปัจจุบันนักวาทกรรมใช้คำว่า “ประชานิยม” ได้ให้บริการสาธารณะฟรี ฟรีทุกอย่าง ถามว่าของฟรีมีต้นทุนการผลิตไหม หมายถึงประชาชนชอบ นิยมจัง แบบนี้โดนใจ หากรัฐหยุดเก็บภาษีทุกประเภทแล้วให้ประชาชนใช้ระบบทำบุญ ทำทานแทน  แล้วนักการเมืองมาแบบจิตอาสา แล้วเข้ามาพัฒนาบ้านเมืองให้อยู่รอด เงินเดือนไม่มี ค่าเบี้ยประชุมไม่มี ได้ค่าน้ำมันรถตามมีตามเกิด  ผมเรียกระบบนี้ว่า “ปวงชนนิยม”

                ครับปีใหม่แล้วต้นปีก็เอาเรื่องเบาๆมานำเสนอกัน และเป็นกำลังใจให้สภาองค์กรชุมชนทุกๆสภา เชื่อมั่น และร่วมกันขับเคลื่อนงานกันต่อไป “ฟ้าคงมีพรชัยให้กับเรา”