วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ทางออกของประเทศ


เปิดเวทีตรงที่มีปัญหา ของภาคประชาชน โดย
ปิดถนนพูดคุยบนปัญหา
เรียนทุกๆท่านดังนี้ครับ ผมในนามผู้นำการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของกลุ่มทุ่งขมิ้น เป็นผู้จัดทำบล็อก สมิหลาพอเพียง ได้มีโอกาสเข้าร่วมใน สภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น โดยเหตุที่ว่า ทำเรื่อง “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน  วิธีการก็คือไปสัมผัสวิถีชีวิตของแต่ละคนในชุมชน สิ่งที่ได้รับคือขาดการส่งเสริมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนภาครัฐ เอาล่ะไม่ลงลึกมากกว่านี้เพราะผมไม่เข้าใจเป็นเดิมทุนอยู่แล้ว ผมก็ทำไปเรื่อยๆคนเดียว จนวันหนึ่งผมมาพบพระ (ท่านมหาวิชิต วัดปลักพ้อ) ท่านก็ให้ความรู้ ให้กำลังใจที่ดีเสมอมา จนวันหนึ่งท่านก็ได้กล่าวถึง สภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น ผมได้เข้าร่วมประชุมสภาทุกครั้ง แต่ก็ไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสภา เพราะดูเหมือนเป็นองค์กรที่ไม่มีความสามารถที่จะจัดการเรื่องใดๆ ในชุมชนเลย แม้แต่การเชิญผู้ดูแลชุมชนทุกระดับชั้นยังทำไม่ได้เลย ไม่ได้เพราะเชิญแล้วท่านฯเหล่านั้นไม่มา แล้วมันผิดอะไรกับการพูดคุยในวงกาแฟไปวันๆ
จนวันหนึ่งผมก็ได้เข้าร่วมประชุมอีกครั้งเรียกว่า “ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนอย่างมีคุณภาพ”  ในครั้งนี้เองที่ทำให้ตาสว่างขึ้นมากเพราะจริงๆแล้ว กฎหมายให้ความคุ้มครองทุกคน และคุ้มครองกลุ่มบุคคลในนามชุมชนอีกด้วย แต่ทำไมประชาชนไม่ทราบ ชุมชนไม่รู้มาก่อน เพราะพวกเราไม่สนใจและคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือ หน่วยงานภาคท้องถิ่นไม่ขยายความรู้นี้ต่อประชาชน
หลายครั้งหลายคราที่ปัญหาในชุมชนเกิดขึ้น หรือ ปัญหาในการทำมาหากินเกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้มีการประทวงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การร่วมประทวงหรือที่เรียกติดปากว่าม็อบ สร้างความเสียหายต่อประเรามาหลายครั้ง มีการเสียชีวิต ทรัพย์สินเงินทองมากมาย เกิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะผู้ที่มีหน้าที่ไม่ทำตามกฎกติกาที่วางเอาไว้ การละเมิดกฎหมายเกิดขึ้นความยุติธรรมจบลง คนกลางไม่มี ที่พึ่งมองไม่เห็น การพึ่งพาตนเองจึงเกิดขึ้น
การร่วมตัวของกลุ่มคนเพื่อประทวงเรียกร้องในความต้องการของกลุ่มคน บ้างครั้งไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นทุกครั้งโดยปฏิเสธไม่ได้แต่หากท่านได้รู้จัก ภารกิจของสภาองค์กรชุมชนในพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ (คัดย่อบางมาตราดังนี้)
มาตรา ๒๑ ให้สภาองค์กรชุมชนตำบล มีภารกิจดังต่อไปนี้
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
() เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกัน
ในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
() เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไขและการพัฒนาต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนอันเกี่ยวกับ
การจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือกันของประชาชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็งและสมาชิกองค์กรชุมชน
รวมตลอดทั้งประชาชนทั่วไปในตำบลสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
() ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น
() รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงานใด ๆ ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ โดยรายงานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) วางกติกาในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
(๑๑) จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมถึงสถานการณ์ด้านต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
(๑๒) เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล จำนวนสองคน
                        ทุกท่านครับ นี้คือทางออกของประเทศไทยเรา หากชุมชนได้รู้จักสิทธิของตนเอง แล้วใช้สิทธิของตนเองตามกฎหมาย ประเทศไทยเราก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ หากสภาองค์กรชุมชนเป็นผู้ที่ดำเนินการให้ชุมชนและประชาชนได้รู้ได้เข้าใจ และสามารถจัดการตนเองในทุกๆเรื่องได้จริง ปัญหาต่างๆก็มีทางออกที่ดี และเป็นทางออกของประเทศไทยเรา
            ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรี ท่านอธิบดี  ท่านผู้ว่าราชการ ท่านนายอำเภอ ท่านนายก อบจ.ท่านนายก อบต. ท่านกำนันผู้ใหญ่บ้าน ทุกท่านครับ สภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อมจังหวัดสงขลา ได้จัดให้มีการเปิดเวทีภาคประชาชนขึ้น ในวันที่  ๑๙  เมษายน ๒๕๕๕ ณ ถนนลูกรั้งสายเหมืองบน หมู่ที่ ๔ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จังหวัดสงขลา เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น.  เวลา. ๑๐.๐๐ น. รับฟังธรรม จากพระมหาวิชิต ปธ.๙ (วัดปลักพ้อ) ๑๑.๐๐ น.ถวายเพล ผู้มีจิตรศรัทธาและชาวบ้าน ต.ทุ่งขมิ้น นำปิ่นโตมาเลี้ยงพระ ชาวบ้านที่สนับสนุนได้จัดทำขนมจีน และขนมหวานไว้เลี้ยงผู้ร่วมงาน ในการนี้ได้เรียนเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สื่อสารมวลชน เครือข่ายประชาชน เพื่อทำการปรึกษาหารือกันในสองหัวข้อดังนี้
๑.      การปล่อยน้ำเสียลงคูคลอง (มีข้อพิพาทคือ การปล่อยขี้หมูลงคูคลองและส่งกลิ่นเหม็น)
๒.    กรณีถนนลูกรั้งสายบ้านเหมืองบน ที่ถูกปล่อยปะละเลยว่าสิบปี
โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.ที่ได้อ้างมา
ทุกๆท่านครับ หากเราเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง จะสำเร็จได้
ต้องแก้จากประชาชนกันเอง เริ่มแก้ที่ชุมชนก่อน เวทีในครั้งนี้จะเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะให้ความสำคัญต่อประชาชนหรือไม่ ข้อสรุปของปัญหาจะได้ผลหรือไม่ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนจะเข้าร่วมมือกันได้หรือไม่ เวทีภาคประชาชนครั้งนี้ต้องมีคำตอบ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น