ประวัติชุมชน

๑. ตำบลทุ่งขมิ้น
       ตามที่ได้สืบทราบมาจากคนเฒ่าคนแก่เล่าขานให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 120 ปี เศษที่ผ่านมามี คนสัญชาติจีนไหหลำ คณะหนึ่งได้ตั้งบ้านเรือนรวมอยู่กับคนไทยที่หมู่บ้าน ๆ หนึ่ง จะเรียกชื่อหมู่บ้านอะไรนั้นไม่ปรากฏ แต่สภาพของหมู่บ้านแห่งนั้น เป็นที่ดินดี พืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ ขึ้นอุดมสมบูรณ์ดี เพราะมีลำคลองขนาดใหญ่ ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านแห่งนี้ จึงนิยมทำสวน เลี้ยงสัตว์กันทั่วทุกครัวเรือน การทำสวนนิยมปลูก เงาะ ทุเรียน มะพร้าว กล้วย อ้อย และพลู เป็นต้น คนจีนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ซื้อแร่ดีบุกจากชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียง ในกลางหมู่บ้านนั้นเขาเล่าว่า มีทุ่งหญ้าใหญ่อยู่แห่งหนึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ เป็นที่เลี้ยงสัตว์ในเวลาเช้าและกลางวัน คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านก็มักจะออกไปถ่ายอุจจาระที่ทุ่งแห่งนั้น เพราะไม่กล้าเข้าไปถ่ายในป่าเนื่องจากกลัวสัตว์ร้ายต่าง ๆ เช่น งู และเสือ เป็นต้น คนสมัยนั้นเขาไม่นิยมใช้ส้วม การไปถ่ายอุจจาระของชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา เขาจึงเรียกทุ่งนั้นว่า ทุ่งเหม็นขี้ แต่คนจีนเขามักเรียกกลับคำภาษาของคนไทยว่า ทุ่งขี้เหม็น แต่เนื่องจากว่าในหมู่บ้านแห่งนี้ มีคนจีนมากกว่าคนไทย เพราะฉะนั้นเสียงที่พูดก็นิยมใช้เสียงของคนจีนมากกว่าเสียงของคนไทยจีนทำให้คนไทยที่อาศัยอยู่ก็เรียกตามคน
จีนไปเสียด้วย คือ เรียกว่าทุ่งขี้เหม็นตลอดมาในที่สุด หมู่บ้านจึงทำให้คนไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น ็มักจะถูกเรียกเป็นชื่อบ้านว่า ทุ่งขี้เหม็น ” ไปด้วย
       ครั้นต่อมาเมื่อพวกชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ถูกชาวบ้านใกล้เคียงเขาเรียกกันว่า พวกชาวบ้านทุ่งขี้เหม็น พวกนี้เกิดความละอาย จึงได้ช่วยกันแปลงคำว่าทุ่งขี้เหม็นนั้นมาเป็น ทุ่งขี้มิ้น เสียจึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านข้างต้นว่าบ้าน ทุ่งขี้มิ้น ซึ่งหมายถึงทุ่งที่ใช้ปลูกขมิ้น ที่เราเอามาแกงเหลืองกินอยู่ทุกวันนี้ ดังนั้นบ้านทุ่งขี้มิ้น ซึ่งเป็นภาษาพูดของท้องถิ่น ครั้นจะพูดให้ถูกตามหลักภาษาไทยก็คงเป็นขมิ้นนั่นเอง ดังนั้นในปัจจุบันนี้มีคนเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้โดยทั่ว ๆ ไปว่า หมู่บ้านทุ่งขมิ้น
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขมิ้น
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง บ้านทุ่งขมิ้น ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 168 ตารางเมตร มีอาณาเขต ติดต่อกับ พื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
      - ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม
      - ทิศใต้ ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่
      - ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม
      - ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่
เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขมิ้น มีเนื้อที่โดยประมาณ 22.080 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,799 ไร่
ภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาและลำคลอง สามารถทำนาได้เล็กน้อย
จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. มี 7 หมู่บ้าน ได้แก่
      - หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งขมิ้น มีพื้นที่ 1,066 ไร่ = 1.71 ตร.กม.
      - หมู่ที่ 2 บ้านลานไทร มีพื้นที่ 2,378 ไร่ = 3.80 ตร.กม.
      - หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งโพธิ์ มีพื้นที่ 2,124 ไร่ = 3.40 ตร.กม.
      - หมู่ที่ 4 บ้านนาทองสุก มีพื้นที่ 2,136 ไร่ = 3.42 ตร.กม.
      - หมู่ที่ 5 บ้านนา มีพื้นที่ 2,021 ไร่ = 3.23 ตร.กม.
      - หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งขมิ้น มีพื้นที่ 2,308 ไร่ = 3.69 ตร.กม.
      - หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งโพธิ์ มีพื้นที่ 1,766 ไร่ = 2.83 ตร.กม.

สภาพทางเศรษฐกิจ 

อาชีพ 
      - อาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 80
      - อาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 5
      - อาชีพค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 5
      - ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 3
      - อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 7
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขมิ้น 
      - ธนาคาร - แห่ง
      - โรงแรม 1 แห่ง
      - ปั้มน้ำมัน 1 แห่ง
      - ปั้นหลอด 11 แห่ง
      - โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง
      - สถานีไฟฟ้าย่อย - แห่ง
      - ร้านรับซ่อมเครื่องไฟฟ้า 4 แห่ง
      - ร้านรับซ่อมจักรยานยนต์ 14 แห่ง
      - ร้านค้าเล็ก 54 แห่ง
อาชีพเสริมของชาวบ้านในเขตพื้นที่ อบต. ชาวบ้านในเขตพื้นที่ตำบลได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ดังนี้
      - กลุ่มแม่บ้านเกษตร 84 คน
      - ธนาคารหมู่บ้าน ม.2,3,7 111 คน
      - กลุ่มออมทรัพย์ ม.4,6 117 คน
      - กลุ่มน้ำยางสด ม.2 62 คน
      - กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ ม.2 154 คน
      - กลุ่มปลูกอ้อย ม.2 12 คน
      - กลุ่มเลี้ยงกบ ม.7 22 คน
      - กลุ่มเลี้ยงสุกร ม.3,4 40 คน
      - กลุ่มแม่บ้านทำขนม 16 คน
      - กลุ่มร้านค้าชุมชน ม.1 54 คน
      - กลุ่มผลิตดอกไม้จัน ม.3,7 22 คน
      - กลุ่มผ้าบาติก ม.2 15 คน
      - กลุ่มเต้าเจี้ยว ม.2 35 คน
      - กลุ่มเพาะเห็ดฟาง ม.4 21 คน
      - กลุ่มปลูกพืชสมุนไพร ม.2 17 คน
      - กลุ่มเลี้ยงโคพื้นบ้าน ม.1-7 38 คน 
เป็นอย่างไรบ้างครับข้อมูลเบื้องต้นพอที่จะบูรณาการให้เป็นตำบลต้นแบบของภาคประชาชนชาวสวนได้หรือป่าว