วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชุมชน กับ อาเซียน AEC



อีกสองปีแล้วครับที่ อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุ ประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
                ดูดีไหมครับ ผมยกแค่ประโยคหลังสุด “การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก”  ถ้าเป็นไปตามวัตถุประสงค์จริงงานนี้ล่ะครับ “ปวงชนชาวไทยจะกลับมา”
กลับมาใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองบนแผ่นดินที่อาศัยของตนเอง
                ชุมชนจะปรับตัวอย่างไรในการเปลี่ยนแปลง
1.              ความรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
2.             กติกาสังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
3.             วิถีอยู่วิถีกินเป็นอย่างไร
4.             ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ อย่างไร 
ที่กล่าวมาต้องตั้งประเด็นไว้ก่อน เพราะต้องใช้เครื่องมือมาก ไม่ว่าจะเป็น
การอบรม การบรรยาย การทดลอง การทำกระบวนการเรียนรู้ ฯลฯ ที่ต้องใช้ภาคีเข้าร่วม และก็ต้องเหมือนเดิมกว่าจะขยับกันได้ก็ต้องรอให้เกิดกรณีปัญหาขึ้นมาก่อน แล้วถึงจะมา “ล้อมคอก” ที่หลังทุกที

 


สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งขมิ้นและกลุ่มสภาฯของอำเภอนาหม่อม ไม่ใช่ “ผู้วิเศษวิโส”มาจากไหนแต่พอมีความตระหนักอยู่บ้าง จึงจะจัดทำแผนชุมชนในมิติของตนเองบนพื้นฐานข้อมูลจริงๆในพื้นที่ ทำข้อมูลเพื่อบริการกันเอง จากผลการทำข้อมูลในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา ตลอดถึงเศรษฐกิจชุมชน  จะเห็นได้ว่ามีครบองค์ประกอบ แต่ที่ผ่านมา “ใช้เครื่องมือไม่ถูก”  ก็ยังพอทำเนา แต่ไอ้ประเภทที่ “กีดขวางเครื่องมือ” นี้ล่ะซิ นี้ล่ะซิ เวรกรรมจริงๆ  โดยเฉพาะคนที่กีดกันเสือกมีความรู้ดี และมีอำนาจในมืออีกด้วย....ชุมชนจะทำอย่างไร
                สงครามการแบ่งแยกเริ่มเกิด ใครพวกกู ใครญาติพี่น้องกู ต้องมาก่อน แผ่นดินฉิบหายช่างแมร่งมัน ช้าก่อนท่านผู้เจริญทางวัตถุนิยมและอำนาจนิยม ท่านจะสำคัญตัวอย่างไรสุดแท้แต่ ในความเป็นจริงที่ท่านลืมไปคือ ท่านกำลังเหยียบหัวพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่เป็นรากเหง้าท่านอยู่ และเป็นผู้ละเว้นการปฏิบัติการตอบสนองนโยบายของภาครัฐโดยสิ้นเชิง เพราะทุกรัฐบาลต้องการรักษารากเหง้าไว้ทั้งนั้น หลังๆจึงใช้คำว่ารากหญ้าแทน ทุกรัฐบาลทำงานเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่เคารพรักทั้งนั้น หรือท่านว่าไม่จริง??? เอาล่ะไม่สาธยายไปมากกว่านี้แล้ว เพราะประชาชนพูดมาเยอะแล้ว


ถึงคณะรัฐมนตรีตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน มาตรา ๓๒ (๓)  หากท่านขอให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ประเมินว่าสิ่งที่รัฐบาลออกนโยบายมาให้ประชาชน และประชาชนเข้าถึงสิทธิได้เพียงไร ตัวชี้วัดนี้ล่ะครับที่จะตอบ จีดีพีได้เป็นอย่างดีไม่ต้องเปลืองงบไปทำสถิติมาหลอกตาให้พ้นปัญหาความน่าเชื่อถือไปวันๆ  

สภาองค์กรชุมชน จึงเป็นทางออกของปวงชนชาวไทยทุกคน ไว้ต่อตอนหน้า



 

1 ความคิดเห็น:

  1. อันตรายสุด ๆ คือ ใครใครก็อยากมาประเทศเรา เข้าง่าย ออกง่าย กฏหมายอ่อนแอ

    ตอบลบ