วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

6 ตุลาคม 16 ถึง 54 มีอะไรที่แตกต่าง


ประโยคขึ้นคือคำถามเฉยๆ เพราะ ๑๖ คือ ปีเกิด และ ๕๔ ที่มีชีวิตเกิดมา รวม ป๓๘ ปี ไม่ต้องใส่คำว่าสิริอายุเข้าไป มันฟังแล้วไม่รื่นหูเท่าไรนัก แต่ถ้าใส่คำว่าประชาธิปไตยสิริอายุ ๗๙ ปีแล้วก็ฟังกันเอาเอง  ขอคารวะผู้กล้าแห่ง ๖ ตุลา ๑๖ มิได้บังอาจกล่าวหาเรื่องประชาธิปไตยไม่เป็นเป็นประชาธิปไตย เพราะวันนี้ประชาธิปไตยที่ท่านๆ เรียกร้องเป็นประชาธิปไตยแล้ว มีธรรมนูญมากกว่าใครในโลกนี้เสียอีก ประชาธิปไตยโดยคณะใดคณะหนึ่งเป็นผู้อนุมัติ ว่ามันคือประชาธิปไตย คณะใดคณะหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้กำหนด แล้วประชาชนส่วนใหญ่ต้องยอมรับ มันคือคำว่าประชาธิปไตย ประชาธิปไตยโดยข้อกำหนด แต่เต็มไปด้วยข้อกังขาว่านี้หรือประชาธิปไตยที่ ๖ ตุลา ๑๖ เรียกร้อง (ขึ้นประโยคไว้ก่อน แล้วจะมาต่อตอนหลัง ขออนุญาตไปหาข้อมูลก่อนครับ)  

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

สภาองค์กรชุมชน กำแพงประชาชนเพื่อแผ่นดินเกิด


บทความที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ผู้เขียน เขียนด้วยความรู้สึกเขียนด้วยการสัมพัสที่ได้รับด้วยตนเอง มิได้หวังชี้นำไปในทางใดเพราะตนเองมิไม่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการชี้นำคนอื่นๆได้ ตามที่สภาพปัจจุบันได้เป็นอยู่ การยอมรับค่าของการเป็นคนมันอยู่ที่ยศฐาบรรดาศักดิ์ ความมั่งมี ตั้งแต่ ด็อกเตอร์ยันมหาเศรษฐี เท่านั้นจึงจะขยับตัวตนจากสามัญชนธรรมดา สู่ สังคมแนวหน้าแห่งสังคมในปัจจุบัน
            โรงแรมหลายแห่งแถวสะพานควาย คอฟฟี่ช็อป (ร้านกาแฟในโรงแรม)เป็นที่ของเศรษฐีมีเงินไปนั่งฟังโครงการต่างๆ ของนักล่าเนื้อ(พูดให้สุภาพนิดนึ่งเพราะภาษาจริงๆ เรียก หมาล่าเนื้อ) นักคิดต่างๆ ประเภทหัวดีไม่มีทุน ต้องอาศัยเวทีนี้เป็นเครื่องมือหากิน ในการนำเสนอวิธีต่างๆทั้งโครงการ แนวความคิด การกระทำเพื่อได้มาซึ่งการลงทุน หลายครั้งหลายคราที่เศรษฐีเหล่านั้น ฟังเพียงครึ่งๆ กลางๆ แล้วบอกไม่สนใจ แต่ภายหลังโครงการที่ได้ฟังก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นและสำเร็จในภายหลัง โดยที่ผู้เสนอแนวความคิดไม่รู้เลย เพราะความรู้ ความพร้อม และประสบการณ์ต่างกัน แต่ความรู้ ความพร้อม ประสบการณ์ ของแต่ละคนนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ใคร?
            ความรู้ ในวันนี้ถูกบัญญัติว่า คือการศึกษาที่ได้รับมาใช่หรือไม่ ?
            ความพร้อม ในวันนี้ถูกบัญญัติว่า คือความมั่งมี ร่ำรวยใช่หรือไม่?
            ประสบการณ์ ในวันนี้หมายถึง การผ่านงานที่ได้ทำมาแล้วใช่หรือไม่?
            ผู้เขียนได้ตั้งคำถามเพื่อให้มองไปพร้อมๆกันว่า คำตอบที่ท่านคิดอยู่ในใจเป็นอย่างไร หลายครั้งหลายคราที่เราเห็นผู้นำในแต่ละด้านได้นำเอาคำที่ถามไป มาเสนอตัวเพื่อทำงานให้แก่ส่วนรวม กว่าเราคนไทยจะรวมกันได้ มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
            คำว่า สภา หมายถึง การร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือ หรือ กำหนด กฎกติกาโดยสมากชิก ตามที่มีอำนาจแห่งสภาที่ตั้งขึ้นเป็นผู้กำหนดและประกาศให้ทราบทั่วกัน ตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ ท่านผู้ติดตามก็ไปหาอ่านรายละเอียดกันดูได้ครับ แต่ที่กล่าวโดยคราวๆ ก็เพราะเรื่องนี้เป็น ทางออกของประเทศ ท่านผู้อ่านและติดตามน่าจะศึกษาและขยายความต่อเริ่มจากครอบครัว ญาติพี่น้องก่อนครับ ประวัติศาสตร์แห่งสภาองค์กรชุมชนนี้ จะเป็นที่กล่าวขานต่อสังคมโลกนี้ทีเดียว เพราะนี้คือปฐมบทแห่งประโยคว่า อารยธรรมนำอารยประเทศ หลับเถิดสหประชาชาติ หากมีแผ่นดินไทยบนโลกใบนี้อยู่
            แผ่นดินไทย คนไทย คำว่า น้ำใจ คนชาติไหนในโลกจะชนะได้ (ใครรู้จักเบียร์ช้าง ฝากไปถามที) ถามคนไทยอีกสักครั้ง ก่อนที่ จะต้องถามด้วยเพลง ถามคนไทยของท่าน สันติ ลุนเผ่ มีประโยคฮุกร์สั่นๆว่า ไทยฆ่าไทยให้ชาติอื่นมอง วิณญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร
            ความรู้ ในตอนนี้เราท่าน รู้ไหมว่า กว่าจะมีประเทศไทยอยู่ได้ เรารอด และดำรงค์คงอยู่ได้อย่างไร
            ความพร้อม เราท่านพร้อมหรือยังที่จะรักษาไว้ซึ่งความรู้ที่เราท่านได้รู้ว่า เราเกิดมาและอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะอะไร
        “ประสบการณ์ จากความรู้ และความพร้อม ของเราท่านที่ได้อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ คือกำแพงประชาชนเพื่อแผ่นดินเกิด
            ทุกคนทำได้หากรู้จัก สภาองค์กรชุมชน ใกล้บ้านท่าน
ปล. ไม่มีภาพประกอบ เพราะภาพนั้นได้เกิดขึ้นแล้วในใจท่านทุกคน มาเถิดครับทำภาพนั้นให้เกิดขึ้นจริงบนแผ่นดินไทยกันเถิด

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง แปลตามประสาบ้านๆ ควนๆ คือ ที่ว่างๆ สะดวกๆ สามารถทำกิจกรรมเรื่องบุญกุศล เพื่อนำพาให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถจัดการชุมชนให้บูรณาการอย่างยั่งยืนได้ วันนี้ก็เป็นอีกวันที่กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้นได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สามแล้ว จากสองครั้งที่ผ่านมาสามารถทำให้คนในชุมชนรู้จักบทบาทของสภาองค์กรชุมชนมาก ขึ้น
การทำงานในภาคประชาชนเพื่อประชาชนนั้น เวทีนี้ซิครับที่จะพูดได้ว่า "คุณเกิดมาเพื่อเจอะสิ่งนี้ ซาล่า"(แซวโฆษณาขายของทางทีวีนิดนึ่ง) เวทีที่เป็นสื่อกลางของทุกสิ่งอย่างจากใจของคนที่รวมเป็นสังคมเรียกว่าชุมชน ที่อยู่อาศัย ได้เอาเรื่องความเป็นอยู่ในทุกด้านมาพูดคุยกัน ข้อดีคือ ได้ศีลข้อสอง อทินณาทานา เพราะเวลาเกิดเรื่องอะไรเกิดเช่น น้ำไม่ไหล ไฟดับ ถนนพัง ลูกเข้าเรียนไม่ได้ คนตายไม่มีค่าฌาปนกิจ ก็ว่ากัน ว่าคนโน่นที หน่วยงานนี้ที ปัญหาเหล่าจะทุเลาเบาบางลงได้หากเรื่องมาถึงสภาองค์กรชุมชน ถามต่อว่าสภาองค์กรชุมชนเป็นเทวดามาจากไหนจึงทำได้? ตอบว่า ไม่ใช่เทวดา แต่เป็นคน เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่เข้าใจและรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และน่าจะนำเรื่องนี้ไปบอกแก่ใคร ให้ช่วยบรรเทาลงได้ กรณีจากอดีตของนายชูเกียรติ (ขอสงวนนามสกุล) ได้ไปสร้างบ้าน สร้างรกรากใหม่ที่หน้าวิทยาลัยครูสงขลา เมื่อปี ๒๕๒๒ บ้านไม่มีเสาไฟฟ้าเนื่องจากไกลจากถนน ก็ได้ต่อพวงจากเพื่อนบ้าน แต่พออยู่มา ก็มีคนเห็นว่าทำเลดี ก็มาสร้างบ้านเยอะขึ้น และก็ต่อพวงไฟฟ้าต่อๆ กันมา จนวันหนึ่ง ไฟฟ้าที่ต่อพวงก็ไม่สามารถรับได้แล้ว ภรรยาของนายชูเกียรติก็ได้ออกความคิดเห็นว่าควรจะติดตั้งเสาไฟฟ้า กว่า ๕ ต้น เพื่อได้มีไฟฟ้าใช้ คำตอบคือ ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะต้องจ่ายเงินค่าเสาไฟฟ้ากันเอง สรุปคือ นายชูเกียรติต่อรับภาระในค่าเสาไฟฟ้าเพียงคนเดียว เพื่อบ้านตนได้มีใช้ และคนอื่นๆได้รับประโยชน์ไปด้วยจนถึงปัจจุบัน และนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่นายชูเกียรติได้ส่งลูกชายเข้าเรียนในสาขาไฟฟ้า ทั้งๆที่ลูกชายบอกว่าชอบช่างยนต์ และทุกวันนี้ลูกชายของนายชูเกียรติ ก็ได้นำวิชามาเพื่อรับใช้สังคมต่อไป ขออนิสงฆ์ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ลูกชายได้ทำส่งผลบุญไปให้นายชูเกียรติผู้ล่วงรับไปแล้วด้วยเทอญ ...
ก่อนกลับเข้าเรื่อง เหตุการณ์อย่างนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อลูกชายจบการศึกษาชั้น ปวช.ต่อ ปวส. ได้ทำงานได้ฝึกงานและเรียนต่อได้รู้จักกับเพื่อนที่ทำงานด้านไฟฟ้า ทำให้การเขียนแบบ และการตรวจระบบฟ้าของบ้านที่เป็นหอพักนักศึกษาแบบวันเดียวเสร็จก็เกิดขึ้นในสังคมอุปถัมที่เราๆอยู่กันนี่แหล่
กลับเข้าเรื่อง  การอยู่ร่วมกันในสังคมโดยเฉพาะสังคมคนใต้ (ที่เขียนว่าสังคมคนใต้ได้เพราะไปอยู่สังคมอื่นๆมามากแล้ว แต่สังคมคนใต้มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ สัญลักษ์ รักษ์ และ รัก เป็นจุดเด่นของตัวตน) ถามว่าตัวตนคนใต้ขึ้นอะไร เสียงดัง ฟังชัด หรือ ? รักพวกรักพองหรือ? ตอบไม่จริง มันไม่ใช่ บ่แม้น ขี้จุ๊แบแบ๊ ตอบให้ก็ได้ว่า คนใต้รักความยุติธรรม รักใครรักจริง นี่คือคนใต้ที่ได้พบมาทั้งทั้งชีวิต ทุกจังหวัดที่ได้ไปมา สำเหนียงคนใต้แม้นเจอะที่เชียงใหม่ ยังถามว่า คนสุราดฉ่ายไหม๊ (อันนี้เอาพออ่านเข้าใจ แต่ถ้าเจอะจังหวัดผม คนที่สะกอมตอบ ลองอ่านดู อ๊าดโต้ย มากันแต่ไหน๊ล๊าหื้อ) ว่าแล้วก็ยกกับมาที่นี้ เพื่อนข้างโต๊ะก็จะเริ่ม ออกไปห่างๆ
ขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ผมได้เห็นมาและเก็บข้อมูลเอาไว้ ทำให้เอาเรื่องราวต่างๆ มาแสดงต่อชุมชนให้เกิดมุมมองต่างๆได้ วันนี้เอารูปกิจกรรมมากฝากกันครับ











 "ทุกชุมชนเข้มแข็งได้ หากคนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจในข้อเท็จจริงที่เท่าเทียมกัน"

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

คุยหลายเวทีว่า "สื่อกับฐานข้อมูลต่างกัน"

พรุ่งนี้มีงานที่ทุ่งโพธิ์ หมู่ ๗ กับ หมู่ ๓ นั่งหาข้อมูลไปเจอะของดีมาเลยเอามาฝากจากเฟชบุ๊ก ของมูลนิธิโลกสีเขียว (เคยเจอะกันสองครั้ง ตอนไปถ่ายทำ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ ระยอง กับ หลวงพ่อสุวรรณ์ นคร) เอาครับผลงานดีๆ มีสาระแก่สังคมเอามาฝากมาดูกัน ฝากถึง ปตท.นิดนึ่งบางทีต้องไปดู "ขุนรองปลัดชู"กันบ้าง

บางที บางคนนึกไม่ออกว่า บรรพบุรษคืออะไร พูดง่ายๆ ตอบตรงๆ ว่า พ่อแม่ที่เลี้ยงคุณมานั้นแหล่ะครับ ถ้า งงๆ ก๊กๆ นึกไม่ออก บอกไม่ถูก ก็ไปถาม พ่อ แม่ คุณดูว่า ปู่ ย่า ตา ทวด เลี้ยงแกมาอย่างไร
ดูสื่อนี้แล้วคงเข้าใจขึ้นเยอะ



เวทีแล้ว เวทีเล่าก็บอกมันเรื่องเดิมๆนี้ล่ะ จะยื่นในจุดนี้แม้จะไม่มีเวทีให้ยืน


การสื่อสาร หรือ สื่อหลักหมายถึงโทรทัศน์ วิทยุ เคเบิ้ล หรือ จานดาวเทียม มีสักกี่ช่องที่เผยแพร่ความรู้เพียงอย่างเดียว และความรู้นั้นกี่รายการที่ดูแล้วมาปรับใช้กับตนเองและชุมชนที่อยู่ได้ วันนี้หลายคนตกอยู่ในการบริโภคข่าวสารแบบเขาป้อนให้อย่างเดียว บ้างคนมองหาต้นแบบที่ไกลตัวเกินไป ระยะเวลาอันจำกัดทำให้เราได้รับข้อมูลแบบรับทราบ รับรู้ แต่ไม่ได้ลงลึกถึงที่มาที่ไป ตลอดจนวิธีปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
สภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น หลังจากได้เข้าร่วมประชุมการใช้สื่อของสภาองค์กรชุมชน จังหวัดสงขลา ก็ได้จัดรูปแบบการประชุมระดับหมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการประชุม การนำเสนอเนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ และในระดับชุมชน การใช้สื่อที่สะท้อนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้ ทำให้เกิดการจัดตั้งกรรมการซอยขึ้นเพื่อให้ชุมชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สูงสุด และสามารถทำให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนรักษาสิทธิอันพึ่งมีของตนไว้ได้
                ท่านผู้ติดตามครับหลายครั้งหลายคราปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการประท้วง การปิดถนน จนไปถึงการทำล้ายข้าวของหรือแม้กระทั้งการเอาชีวิตกันเลย  มันผ่านกระบวนการของผู้ไม่ประสงค์ดีผู้หวังแต่ประโยชน์ส่วนตน ใช้วิธีต่างๆนาๆ บ้างครั้งการประชาพิจารณ์โดยกลุ่มคนที่มีการจัดตั้งขึ้น แล้วลงมติว่าผ่านจากชุมชนก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ผู้เขียนได้อ่านเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสภาองค์กรชุมชนแล้ว เห็นว่าได้การและกาลแล้วที่กลุ่มคนในชุมชนเองจะต้องเปิดใจเปิดตาเปิดหูรับฟัง อีกสี่ปีประชาคมอาเชียนก็ครบวาระแล้วการเปิดประตูบ้านที่สำคัญ อีกก้าวหนึ่งที่พูดได้เลยว่า มนุษยชาติเอ๋ยจะได้รู้จักความเป็นคนไทยอีกครั้ง  หลายครั้งหลายคราที่บรรพบุรษไทยเอาเลือดเอาเนื้อเอาชีวิตเข้าแลกไว้ เราจึงมีพื้นแผ่นดินอยู่ทุกวันนี้ ตั้งแต่ปี๒๕๓๙ โดยประมาณคำว่า"โลภาภิวัตน์"เป็นคำอิตในสมัยนั้น ทุกวันนี้เปลี่ยนเป็น "บูรณาการ" ถ้าอาศัยฟังเอาก็สรุปง่ายๆว่าการทำให้ดีขึ้นทันสมัยขึ้น แต่คำหลังนี้โดนใจดีเพราะมาทันที่ทันเวลาไปตามหาคำแปลกับความหมายก็ตกใจครับ มันได้มาจากภาษาฝรั่งมังค่าโน่น ผู้เขียนแยกคำออกสองคำโดยใช้ภาษาไทยเรานี่ล่ะครับ คือ "บูรณะ" การดูแลรักษา การป้องกัน การสงวน กับ การ การกระทำ
บูรณาการที่เราได้ยินได้ฟังกันหนาหูวันนี้ เป็นการเอาคำฝรั่งมาแปลเป็นไทย และก็เป็นหน้าที่คนไทยอีกครั้งหนึ่งที่จะทำอะไรแบบไทยๆให้บูรณาการ........ สวัสดี
นำภาพกิจกรรม "ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง" ครั้งที่ ๒ มาฝากกันครับ










วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สภาองค์กรชุมชน ก้าวสำคัญสู่ความเข้มแข็งของชุมชน(๑)

ได้มีโอกาสทำงานด้านชุมชน(ส่วนใหญ่เป็นชุมชนการเกษตร) จึงขอแสดงข้อคิดเห็นและสะท้อนสิ่งที่มองเห็นตลอดจนการเก็บบันทึกเรื่องราวของชุมชนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มคน บุคคล หรือแม้กระทั้งชุมชนเป็นผู้ก่อตั้งเอง
เหลียวหลัง แลหน้า ประโยคต้นๆก่อนที่จะทำอะไรแก่ส่วนรวมเสมอๆ การมองจากอดีตถึงปัจจุบันให้เห็นอนาคตนั้น คือต้องหยุดคิดก่อนว่า อดีตที่ผ่านมาในเรื่องของชุมชนเป็นมาอย่างไร พัฒนาขึ้นหรือเสื่อมลงในด้านใดในเวลาปัจจุบัน เมื่อได้ข้อคิดที่สรุปโดยมติของชุมชนแล้ว ที่นึ้ก็กำหนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินต่อไป
รู้ฟ้า รู้ดิน ในที่นี้กำหนดให้หมายความว่า ภูมิอากาศต่อภูมิประเทศอย่างเดียว ไม่ต้องมองมุมอื่นๆแบบ เลี่ยงบาลีไปเรื่อย หน้าเบื่อหน่ายในความรู้ของผู้อันทรงปัญญาทั้งหลาย รู้ไปทุกเรื่องเว้นเรื่องเดียวคือบ้านตนเองมีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะแก่การดำรงค์ชีวิตแบบไหนและสามารถพัฒนาให้รุ่งเรื่องได้อย่างไร ผู้เขียนก็ได้เดินทางไปต่างประเทศบ้าง เห็นประเทศหนึ่ง(ไม่ขอเอ่ยนาม ใครจะว่าเป็นประเทศที่ตั้งขึ้นมาเองลอยๆก็ยินดีครับ) เป็นประเทศที่เหมาะสมกับการทำเกษตรลำดับต้นๆ ของโลกใบนี้ ประวัติศาสตร์ก็อยู่มาเป็นร้อยๆปี ด้วยวิถีการเกษตรทุกรูปแบบ ทั้งการปลูก และการประมง พื้นที่ก็อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยไม้ป่านานาพรรณ ชายทะเลก็เต็มไปด้วยป่าชายเลน ของป่าของกินก็นำมาขายแบกับกินเป็นตลาดนัดทั่วๆไป วิถีพออยู่ พอกิน พออาศัย พอเก็บ เหลือแจกจ่ายถวายวัด จนมีสาธารณะสถานเต็มบ้านเต็มเมืองในขณะนี้  จนมาไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาประมาณ  ๗๙ ปี นับถอยหลังจากปีนี้ ๒๕๕๔ ได้มีกลุ่มคนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า(ที่คนรุ่นปัจจุบัน๒ ถึง ๓จำพวก เรียกเขาเหล่านั้นว่าความก้าวหน้าของประเทศนั้น) ไม่แปลกครับดีซะอีกที่ประเทศนั้นมีความก้าวหน้า แต่ความก้าวหน้าที่แลกกับความยากจนของภาคเกษตร ทำให้คนที่อยู่ภาคเกษตรหมดเนื้อหมดตัว ทิ้งที่ทางไปหาความเจริญที่เรียกว่า บริษัท ในตำแหน่ง ลูกจ้างแรงงาน หมดซึ่งที่อยู่ที่ทำกิน ต้องใช้แรงงาน แรงสมอง เพื่อดิ้นรนให้มีเงินตราเพื่อซื้อข้าวปลากิน ความเจริญที่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งนำคำว่าเจริญมาสู่ประเทศนั้น การนำเทคโนโลยีต่างประเทศ ความรู้ที่ยังศึกษาไม่จบซึ่งศาสตร์แห่งวิชา มาใช้บนแผ่นดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ การก้าวให้ทันต่อสังคมโลกภายใต้การบริโภคนิยม วัตถุนิยม ทำให้ประเทศนั้นต้องตกในวิบากกรรมอยู่ทุกวันนี้การเจริญที่เรียกว่า ไม่รู้ฟ้าไม่รู้ดิน







การขับเคลื่อนชุมชนโดยวิธีฟื้นฟูต้นมะม่วงในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว


ก่อนการขับเคลื่อนมาดูที่มาของสภาองค์กรชุมชนกันครับ ความเป็นมาของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน
ชุมชน เป็นสังคมฐานรากที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ ประสบความยากจน เกิดปัญหาสังคม กระนั้นก็ดี ชุมชนมีการใช้ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เพื่อการดำรงอยู่ ตลอดจนมีการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

          นอกจากนี้ยังจะนำไปสู่การสร้างระบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลให้ชุมชนมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          จากเหตุการดังกล่าว จึงนำไปสู่ความคิดของการมีกฎหมายเพื่อรองรับการเกิดเวทีปรึกษาหารือของชุมชน ที่มีสถานะที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เป็นกฎหมายส่งเสริมไม่บังคับชุมชน สามารถดำเนินการเมื่อเกิดความพร้อมและเห็นพ้องต้องกัน รวมทั้งการคงความเป็นอิสระและความร่วมมือต่อกันของการทำงานในท้องถิ่น โดยในการดำเนินงานให้เกิด พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนมีลำดับความเป็นมา ดังนี้

1. ที่มา พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ปัจจุบัน มีพื้นที่ตำบลที่องค์กรชุมชน แกนนำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำที่เป็นทางการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และสถาบันในท้องถิ่น (วัด โรงเรียน สถานีอนามัย) ได้มีการทำงานพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การทำแผนชุมชน การจัดสวัสดิการ การจัดกาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การจัดการทุนของชุมชน จัดให้มีสภาผู้นำชุมชน ฯลฯ มีเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันคิด ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างเป้าหมายร่วมกันของพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจากการทำงานในแนวทางดังกล่าว ได้ช่วยให้เกิดการจัดการตนเองร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เกิดความสัมพันธ์อันดีภายในชุมชนท้องถิ่น

          จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดการตนเองตามแนวทางดังกล่าว และทำให้เกิดความเข้มแข็งส่งผลดีต่อชุมชนท้องถิ่นโดยรวม แกนนำชุมชนที่มีประสบการณ์ และคนทำงานพัฒนา จึงได้ร่วมกันยกร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนขึ้นมา เพื่อให้มี พ.ร.บ. ที่จะช่วยหนุนเสริม สร้างการยอมรับการทำงานร่วมกันแบบสภาองค์กรชุมชน ทำให้กรณีตัวอย่างดี ๆ ที่ทำมาแล้วขยายออกไปพื้นที่อื่น พื้นที่ที่สนใจ และพร้อมจะร่วมกันสร้างสภาองค์กรชุมชน ที่ถือเป็นระบบประชาธิปไตยทางตรงจากฐานรากได้ร่วมกันทำเรื่องนี้ให้กว้าง ขวางยิ่งขึ้น

2. กระบวนการร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ในปี 2549 เครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับวิทยาลัยการจัดการทางสังคม จัดสรุปบทเรียน "ประชาธิปไตยชุมชน...การเมืองสมานฉันท์" และ จัดเวทีสังคมสนทนา "การเมืองสมานฉันท์ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้มีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในระดับภูมิภาคทั้ง 8 ภาคเพื่อพัฒนาข้อเสนอของภาคประชาชนต่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง โดยสาระหลักเป็นการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารโดยกระจายอำนาจไปที่ชุมชนท้อง ถิ่น ให้มีอิสระในการจัดการตนเอง พร้อมกับพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำพาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง จากนั้นในเดือน พ.ย.49 ผู้แทนองค์กรชุมชนทั่วประเทศจำนวน 200 คน ได้เข้าพบและนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนต่อนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์) ณ ทำเนียบรัฐบาล ต่อด้วยการยกร่างหลักคิดและเนื้อหาสาระ พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน และได้จัดเวทีระดมความเห็นผู้นำชุมชนสี่ภาค และเกิดคณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งภายหลังได้จัดตั้งเป็นสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย ( สอท.)

          ต่อมาได้มีการจัดเวทีระดมความเห็นเกี่ยวกับร่างทั้งส่วนกลางและภูมิภาค 10 เวที สรุปเป็นร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นเสนอต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมีนาคม 2550 และในเดือนเมษายน ได้เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ (ครูชบ ยอดแก้วเป็นประธาน และครูมุกดา อินต๊ะสารเป็นรองประธาน) ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ (สนช.) ซึ่งครูหยุย (วัลลภ ตังคณานุรักษ์) เป็นประธาน ในช่วงเดือนเดียวกันก็ได้มีการสัมมนาเปิดภาพการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งมีเครือข่ายชุมชนจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 1,800 คน โดยรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ (นพ.พลเดช ปิ่นประทีป) เข้าร่วมเวที ซึ่งสรุปผลการสัมมนาเครือข่ายจะปฏิบัติการนำร่องสภาองค์กรชุมชน 200 ตำบล และจะผลักดันให้ พ.ร.บ. ผ่านในรัฐบาลชุดนี้ แต่หลังจากที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอร่าง พ.ร.บ. เข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (5 มิถุนายน 2550) ปรากฎว่าในคณะรัฐมนตรีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนแต่บางส่วนคัดค้าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา จากความเห็นที่มีทั้งการสนับสนุนและการคัดค้าน ทำให้สื่อมวลชนทำข่าวเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

          ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2550 สถาบันวิชาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีการจัดเวทีระดมความเห็นเรื่องนี้ อย่างกว้างขวางในส่วนของเครือข่ายชุมชนจึงได้ไปทำงานร่วมกับคณะอนุ กรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ ซึ่งประธานสภานิติบัญญัติ (นายมีชัย ฤชุพันธ์) ได้มาช่วยซักถามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และปรับร่าง พ.ร.บ. จนสามารถเสนอ สนช. ได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 โดยรองนายกไพบูลย์ฯ ไปรับร่างจาก สนช. จากนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดระดมความเห็นหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับร่างที่จะเสนอโดย รัฐบาล (23 สิงหาคม 2550) แต่เมื่อยังมีผู้คัดค้านนายกรัฐมนตรีจึงเห็นสมควรให้ออกเป็นระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีไปก่อน โดยรัฐบาลไม่ได้ส่งร่างพ.ร.บ.ประกบร่างพ.ร.บ.ฉบับที่เสนอโดย สนช.เหมือนกฎหมายฉบับอื่น ๆ

          ในส่วนของคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สนช. ก็ได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง (27 สิงหาคม 2550) จากนั้นครูมุกดา อินต๊ะสาร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ให้ที่ประชุม สนช.พิจารณารับหลักการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2550 ซึ่งได้มีผู้อภิปรายสนับสนุนสิบท่านคัดค้าน 1 ท่าน ที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 61 เสียง ไม่เห็นด้วย 31 เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 22 ท่าน ไปพิจารณารายละเอียด ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2550 คณะกรรมาธิการวิสามัญโดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 11 ครั้ง และนำเสนอ สนช. พิจารณาวาระที่สองและลงมติวาระที่สามในวันที่ 28 พ.ย. 50 ซึงที่ประชุม สนช. มีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายอย่างเอกฉันท์ 83 เสียง

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การขับเคลื่อนภาคประชาชน เพื่อ ประชาชน



สภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น อ.นาม่อม จ.สงขลา ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๒ โดยความร่วมมือร่วมใจขององค์กรชุมชนทั้ง ๗ หมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาจังหวัดสงขลาเขตอำเภอนาหม่อม ครู นักเรียน ประชาชนทั่วไป และ แกนนำในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย สมิหลาพอเพียง กลุ่มทุ่งขมิ้น ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนพลเมืองในตำบลทุ่งขมิ้น ได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากสภาองค์กรชุมชนทุ่งขมิ้น ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนได้ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง จาก "บวร" สู่การฟื้นฟูต้นมะม่วงในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ก้าวแรกของสภาชุมชนตำบลทุ่งขมิ้น ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างสูงสุด


พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.. ๒๕๕๑
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ชุมชนหมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน
เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือ
ดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบ
บริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
ชุมชนท้องถิ่นหมายความว่า ชุมชนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่หมู่บ้านหรือตำบล
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมหมายความว่า ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเกิดขึ้นก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
องค์กรชุมชนหมายความว่า องค์กรซึ่งเป็นการรวมของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือ
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าประชาชนจะจัดตั้งกันขึ้นเอง
หรือโดยการแนะนำหรือสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน
ผู้นำชุมชนหมายความว่า ประธานกรรมการของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
หรือชุมชนอื่น หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นผู้นำของ
ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมหรือชุมชนอื่นในลักษณะเดียวกัน
สมาชิกหมายความว่า สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
หมู่บ้านหมายความว่า หมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่ และ
ให้หมายความรวมถึงชุมชนที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของทางราชการ
ตำบลหมายความว่า เขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
เขตในกรุงเทพมหานคร หรือเขตพื้นที่ที่กฎหมายเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น
จังหวัดหมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
สภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๕ ผู้แทนชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้านซึ่งได้จดแจ้ง
การจัดตั้งไว้กับผู้ใหญ่บ้าน และผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลซึ่งได้จดแจ้งการจัดตั้งไว้กับกำนัน ทั้งนี้ โดยการจดแจ้งการจัดตั้งได้กระทำก่อนวันประชุม อาจประชุมปรึกษากันจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลขึ้น
สภาหนึ่งเพื่อปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัตินี้ได้
การได้มาซึ่งผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้าน และการได้มา
ซึ่งผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลให้เป็นไปตามที่ผู้นำชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้าน
หรือผู้นำชุมชนอื่นในตำบลแล้วแต่กรณีปรึกษาหารือกัน โดยให้มีผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือ
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละสี่คนและผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลชุมชนละสองคน
การประชุมปรึกษากันตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ในแต่ละหมู่บ้าน และผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของผู้แทนชุมชน
ทุกประเภทตามวรรคสองรวมกัน จึงจะเป็นองค์ประชุม และต้องเห็นสอดคล้องต้องกันให้จัดตั้ง
สภาองค์กรชุมชนตำบลไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนผู้แทนชุมชนทุกประเภทตามวรรคสอง
เมื่อกำนันได้รับจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลแล้วให้ออกใบรับการจดแจ้ง
ให้เป็นหลักฐานและส่งบัญชีรายชื่อให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทราบ
ในกรณีที่ตำบลหรือหมู่บ้านใดไม่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ให้จดแจ้งการจัดตั้งชุมชนหรือ
จดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล แล้วแต่กรณี ไว้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
ในกรณีเขตกรุงเทพมหานคร ให้จดแจ้งไว้กับผู้อำนวยการเขต และให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ออกใบรับการจดแจ้งไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งให้สถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทราบ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ตามวรรคหนึ่ง และการจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลตามวรรคสี่และวรรคห้าให้เป็นไป
ตามที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ประกาศกำหนด
มาตรา ๖ สภาองค์กรชุมชนตำบล ประกอบด้วย
() สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนของชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้านและ
ผู้แทนชุมชนอื่นในตำบล ซึ่งได้รับการคัดเลือกและมีจำนวนตามที่ที่ประชุมตามมาตรา ๕ กำหนด
() สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกตาม ()
ในวาระเริ่มแรกให้ที่ประชุมตามมาตรา ๕ กำหนดจำนวนและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตาม ()
ในวาระต่อไป การกำหนดจำนวนและการคัดเลือกให้เป็นไปตามผลการปรึกษาหารือของสมาชิก
ตาม () ทั้งนี้ ให้คัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นที่เคารพหรือยอมรับนับถือของชุมชนในตำบลนั้น
มาตรา ๗ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลตามมาตรา ๖ () และ () ต้องมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
() มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วย
ทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีจนถึงวันคัดเลือก
() ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้มีตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก
() ไม่เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเข้ารับการสรรหาเป็น
สมาชิกวุฒิสภา ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก
() ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด
ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๘ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่
วันคัดเลือก
ในกรณีที่สมาชิกพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการคัดเลือกสมาชิกใหม่แทนภายใน
กำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งสมาชิกว่างลง เว้นแต่วาระของสมาชิกเหลือไม่ถึง
หนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มา
ซึ่งสมาชิกแทนตำแหน่งที่ว่างให้สมาชิกผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของ
ผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการคัดเลือกสมาชิกใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่
วันที่ครบวาระ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการคัดเลือกสมาชิกขึ้นใหม่ ให้สมาชิกที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น
อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
อาจพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
() ตาย
() ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล
() สภาองค์กรชุมชนตำบลมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิก
สภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดที่มีอยู่ให้พ้นจากตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมา
ซึ่งความเสื่อมเสียต่อชุมชน
() ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
() กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๒
() มีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
การวินิจฉัยการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ให้เป็นอำนาจของสภาองค์กรชุมชนตำบล
ซึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่
มาตรา ๑๐ เมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลมีเหตุต้องยุบเลิก ให้ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล
ที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล แจ้งการยุบเลิกต่อกำนัน และเมื่อกำนันได้รับ
การแจ้งการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบลแล้ว ให้กำนันออกใบรับแจ้งการยุบเลิกไว้เป็นหลักฐาน
และให้แจ้งไปยังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้ทราบด้วย
ในกรณีที่ตำบลไม่มีกำนัน เมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลมีเหตุต้องยุบเลิก ให้ประธาน
สภาองค์กรชุมชนตำบลที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล แจ้งการยุบเลิกต่อ
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือในกรณีเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งการยุบเลิกต่อผู้อำนวยการเขต
และให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ออกใบรับแจ้งการยุบเลิก
ไว้เป็นหลักฐาน และให้แจ้งไปยังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้ทราบด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจดแจ้งการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล ให้เป็นไปตามที่
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ประกาศกำหนด
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบลใด ให้โอนบรรดาทรัพย์สิน
ที่เหลืออยู่ทั้งหมดแก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรสาธารณะตามที่ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
เห็นสมควร
การโอนบรรดาทรัพย์สินหากไม่ได้จัดการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้สถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นและแจ้งให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบลทราบ
มาตรา ๑๒ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลต้อง
() ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() ไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและศีลธรรมอันดี
() ไม่สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้นจากตำแหน่งยังไม่ครบหนึ่งปีและ
ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ห้ามมิให้ผู้นั้น
เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันสมัครเข้ารับเลือกตั้งหรือเข้ารับการสรรหา
แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๔ เมื่อมีการยุบและรวมเขตหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรชุมชนในหมู่บ้านเดิมที่ถูกยุบหรือถูกรวมยังคงเป็น
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลต่อไปจนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงตามวาระหรือพ้นจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุอื่น
เมื่อมีการแยกพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านใดขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชน
ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรชุมชนในหมู่บ้านเดิมยังคงเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ต่อไป โดยให้
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลที่มีภูมิลำเนาอยู่ของหมู่บ้านใดก็ให้เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนซึ่งเป็น
ผู้แทนองค์กรชุมชนของหมู่บ้านนั้น จนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงตามวาระ และจัดให้มีการคัดเลือก
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรชุมชนให้ครบตามจำนวนที่กำหนด ทั้งในหมู่บ้านเดิม
และหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่
มาตรา ๑๕ ในคราวประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งแรก ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
เลือกกันเองเป็นประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาสองคนเป็นรองประธานสภาคนที่หนึ่ง
และรองประธานสภาคนที่สอง
มาตรา ๑๖ ประธานสภา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
() เรียกและดำเนินการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
() ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบลให้เป็นไปตามกติกาและมติของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล
() ออกกติกาและคำสั่งใด ๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการประชุม
() เป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
() แต่งตั้งเลขานุการสภาโดยความเห็นชอบของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
() อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
มาตรา ๑๗ รองประธานสภา มีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็น
อำนาจหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย
มาตรา ๑๘ เลขานุการสภา มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม และงานอื่นใด
ตามที่สภาองค์กรชุมชนตำบลมอบหมาย
มาตรา ๑๙ สภาองค์กรชุมชนตำบลต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง เพื่อดำเนินการ
ให้เป็นไปตามภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบลนั้น
นอกจากการประชุมตามวรรคหนึ่ง เมื่อสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยื่นหนังสือร้องขอให้เปิดการประชุม ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล
ต้องจัดให้มีการประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
มาตรา ๒๐ การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๑ ให้สภาองค์กรชุมชนตำบล มีภารกิจดังต่อไปนี้
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
() เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกัน
ในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
() เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไขและการพัฒนาต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนอันเกี่ยวกับ
การจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือกันของประชาชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าว
มาประกอบการพิจารณาด้วย
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็งและสมาชิกองค์กรชุมชน
รวมตลอดทั้งประชาชนทั่วไปในตำบลสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
() ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น
() รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงานใด ๆ ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ โดยรายงานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) วางกติกาในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
(๑๑) จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมถึงสถานการณ์ด้านต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
(๑๒) เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล จำนวนสองคน
มาตรา ๒๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐส่งเสริม สนับสนุน และ
ให้ความร่วมมือ รวมตลอดทั้งชี้แจงทำความเข้าใจแก่สภาองค์กรชุมชนตำบลและชุมชนทุกประเภทตามที่ร้องขอ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ในเขตอาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่าย
ในการดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กำหนด
ในการกำหนดตามวรรคสองให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นหารือกับสถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ด้วย
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติภารกิจตามมาตรา ๒๑ สภาองค์กรชุมชนตำบลอาจตั้งคณะกรรมการขึ้น
เพื่อปฏิบัติภารกิจแทนก็ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
หมวด ๒
การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๔ ให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยปีละ
หนึ่งครั้ง เพื่อดำเนินการตามมาตรา ๒๗
เมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดในจังหวัด
เข้าชื่อกันร้องขอให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาและเสนอแนะเรื่องหนึ่งเรื่องใดอันอยู่ในภารกิจของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการจัดให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจดำเนินการจัดให้มีการประชุม
ในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล
() เมื่อมีกรณีที่จะจัดทำหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาจังหวัด
() เมื่อเห็นเป็นการสมควรที่จะรับฟังความคิดเห็นของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๖ ในการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล บุคคลดังต่อไปนี้
ย่อมมีสิทธิเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นและลงมติ
() ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลตามที่ได้รับการเสนอรายชื่อตามมาตรา ๒๑ (๑๒)
() ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดซึ่งผู้แทนของสภาองค์กรชุมชนตำบลตาม ()
คัดเลือกให้เชิญมาร่วมประชุมมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในห้าของผู้แทนของสภาองค์กรชุมชนตาม ()
หลักเกณฑ์การเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ให้เป็นไปตามกติกาของที่ประชุมของผู้แทน
ตาม ()
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย อาจเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมได้
มาตรา ๒๗ ให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
() เสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
() เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนในเรื่องการจัดทำ
บริการสาธารณะและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำ บล
เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
() เสนอข้อคิดเห็นในเรื่องที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดปรึกษา
() เสนอรายชื่อผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคน เพื่อไปร่วมประชุม
ในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๘ ให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลเลือกกันเองเป็นประธาน
ที่ประชุมคนหนึ่งและรองประธานที่ประชุมคนหนึ่ง
ให้นำความในมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับกับการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กร
ชุมชนตำบลด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๙ องค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
จัดประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามที่กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นกำหนด
หมวด ๓
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๓๐ ในปีหนึ่งให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดให้มีการประชุม
ในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
มาตรา ๓๑ ในการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมมีสิทธิเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นและลงมติ
() ผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลตามที่ได้รับการเสนอรายชื่อตามมาตรา ๒๗
() ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลตาม () เสนอให้เชิญมา
ร่วมประชุมมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในห้าของผู้แทนตาม ()
หลักเกณฑ์การเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ให้เป็นไปตามกติกาของที่ประชุมของผู้แทน
ตาม ()
มาตรา ๓๒ ให้ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
() กำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการพัฒนาสภาองค์กรชุมชน
ในระดับตำบลให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้เพื่อเสนอให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
() ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สังคมและกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
() สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ
มาตรา ๓๓ การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลให้ที่ประชุมเลือกกันเอง
เป็นประธานที่ประชุมคนหนึ่งและรองประธานที่ประชุมคนหนึ่ง
ให้นำความในมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับกับการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลด้วย
โดยอนุโลม
หมวด ๔
การส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๓๔ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กำหนดข้อบังคับการอุดหนุน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดประชุมในระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับตำบลของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามควรแก่กรณี

มาตรา ๓๕ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มีการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่อง
ดังต่อไปนี้ด้วย
() ประสานและดำเนินการให้มีการจัดตั้งและดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบลและผลการประชุมของ
การประชุมระดับจังหวัดและระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล
() รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับงานของสภาองค์กรชุมชนตำบล
() ประสานและร่วมมือกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมในการดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
() จัดทำทะเบียนกลางเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบล
() ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติจัดตั้งและดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนและผลการประชุม
ในทุกระดับแล้วเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติและรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
() ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติหรือรัฐมนตรี
มอบหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี