วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การขับเคลื่อนภาคประชาชน เพื่อ ประชาชน



สภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น อ.นาม่อม จ.สงขลา ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๒ โดยความร่วมมือร่วมใจขององค์กรชุมชนทั้ง ๗ หมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาจังหวัดสงขลาเขตอำเภอนาหม่อม ครู นักเรียน ประชาชนทั่วไป และ แกนนำในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย สมิหลาพอเพียง กลุ่มทุ่งขมิ้น ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนพลเมืองในตำบลทุ่งขมิ้น ได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากสภาองค์กรชุมชนทุ่งขมิ้น ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนได้ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง จาก "บวร" สู่การฟื้นฟูต้นมะม่วงในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ก้าวแรกของสภาชุมชนตำบลทุ่งขมิ้น ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างสูงสุด


พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.. ๒๕๕๑
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ชุมชนหมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน
เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือ
ดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบ
บริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
ชุมชนท้องถิ่นหมายความว่า ชุมชนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่หมู่บ้านหรือตำบล
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมหมายความว่า ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเกิดขึ้นก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
องค์กรชุมชนหมายความว่า องค์กรซึ่งเป็นการรวมของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือ
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าประชาชนจะจัดตั้งกันขึ้นเอง
หรือโดยการแนะนำหรือสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน
ผู้นำชุมชนหมายความว่า ประธานกรรมการของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
หรือชุมชนอื่น หรือหัวหน้ากลุ่ม หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นผู้นำของ
ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมหรือชุมชนอื่นในลักษณะเดียวกัน
สมาชิกหมายความว่า สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
หมู่บ้านหมายความว่า หมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่ และ
ให้หมายความรวมถึงชุมชนที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของทางราชการ
ตำบลหมายความว่า เขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
เขตในกรุงเทพมหานคร หรือเขตพื้นที่ที่กฎหมายเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น
จังหวัดหมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
สภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๕ ผู้แทนชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้านซึ่งได้จดแจ้ง
การจัดตั้งไว้กับผู้ใหญ่บ้าน และผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลซึ่งได้จดแจ้งการจัดตั้งไว้กับกำนัน ทั้งนี้ โดยการจดแจ้งการจัดตั้งได้กระทำก่อนวันประชุม อาจประชุมปรึกษากันจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลขึ้น
สภาหนึ่งเพื่อปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัตินี้ได้
การได้มาซึ่งผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้าน และการได้มา
ซึ่งผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลให้เป็นไปตามที่ผู้นำชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้าน
หรือผู้นำชุมชนอื่นในตำบลแล้วแต่กรณีปรึกษาหารือกัน โดยให้มีผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือ
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละสี่คนและผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลชุมชนละสองคน
การประชุมปรึกษากันตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ในแต่ละหมู่บ้าน และผู้แทนชุมชนอื่นในตำบลมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของผู้แทนชุมชน
ทุกประเภทตามวรรคสองรวมกัน จึงจะเป็นองค์ประชุม และต้องเห็นสอดคล้องต้องกันให้จัดตั้ง
สภาองค์กรชุมชนตำบลไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนผู้แทนชุมชนทุกประเภทตามวรรคสอง
เมื่อกำนันได้รับจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลแล้วให้ออกใบรับการจดแจ้ง
ให้เป็นหลักฐานและส่งบัญชีรายชื่อให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทราบ
ในกรณีที่ตำบลหรือหมู่บ้านใดไม่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ให้จดแจ้งการจัดตั้งชุมชนหรือ
จดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล แล้วแต่กรณี ไว้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
ในกรณีเขตกรุงเทพมหานคร ให้จดแจ้งไว้กับผู้อำนวยการเขต และให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ออกใบรับการจดแจ้งไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งให้สถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทราบ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ตามวรรคหนึ่ง และการจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลตามวรรคสี่และวรรคห้าให้เป็นไป
ตามที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ประกาศกำหนด
มาตรา ๖ สภาองค์กรชุมชนตำบล ประกอบด้วย
() สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนของชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้านและ
ผู้แทนชุมชนอื่นในตำบล ซึ่งได้รับการคัดเลือกและมีจำนวนตามที่ที่ประชุมตามมาตรา ๕ กำหนด
() สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกตาม ()
ในวาระเริ่มแรกให้ที่ประชุมตามมาตรา ๕ กำหนดจำนวนและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตาม ()
ในวาระต่อไป การกำหนดจำนวนและการคัดเลือกให้เป็นไปตามผลการปรึกษาหารือของสมาชิก
ตาม () ทั้งนี้ ให้คัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นที่เคารพหรือยอมรับนับถือของชุมชนในตำบลนั้น
มาตรา ๗ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลตามมาตรา ๖ () และ () ต้องมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
() มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วย
ทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีจนถึงวันคัดเลือก
() ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้มีตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก
() ไม่เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเข้ารับการสรรหาเป็น
สมาชิกวุฒิสภา ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก
() ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด
ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๘ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่
วันคัดเลือก
ในกรณีที่สมาชิกพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการคัดเลือกสมาชิกใหม่แทนภายใน
กำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งสมาชิกว่างลง เว้นแต่วาระของสมาชิกเหลือไม่ถึง
หนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มา
ซึ่งสมาชิกแทนตำแหน่งที่ว่างให้สมาชิกผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของ
ผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการคัดเลือกสมาชิกใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่
วันที่ครบวาระ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการคัดเลือกสมาชิกขึ้นใหม่ ให้สมาชิกที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น
อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
อาจพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
() ตาย
() ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล
() สภาองค์กรชุมชนตำบลมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิก
สภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดที่มีอยู่ให้พ้นจากตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมา
ซึ่งความเสื่อมเสียต่อชุมชน
() ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
() กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๒
() มีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
การวินิจฉัยการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ให้เป็นอำนาจของสภาองค์กรชุมชนตำบล
ซึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่
มาตรา ๑๐ เมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลมีเหตุต้องยุบเลิก ให้ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล
ที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล แจ้งการยุบเลิกต่อกำนัน และเมื่อกำนันได้รับ
การแจ้งการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบลแล้ว ให้กำนันออกใบรับแจ้งการยุบเลิกไว้เป็นหลักฐาน
และให้แจ้งไปยังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้ทราบด้วย
ในกรณีที่ตำบลไม่มีกำนัน เมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลมีเหตุต้องยุบเลิก ให้ประธาน
สภาองค์กรชุมชนตำบลที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล แจ้งการยุบเลิกต่อ
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือในกรณีเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งการยุบเลิกต่อผู้อำนวยการเขต
และให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ออกใบรับแจ้งการยุบเลิก
ไว้เป็นหลักฐาน และให้แจ้งไปยังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้ทราบด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจดแจ้งการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล ให้เป็นไปตามที่
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ประกาศกำหนด
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีการยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบลใด ให้โอนบรรดาทรัพย์สิน
ที่เหลืออยู่ทั้งหมดแก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรสาธารณะตามที่ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
เห็นสมควร
การโอนบรรดาทรัพย์สินหากไม่ได้จัดการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้สถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นและแจ้งให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบลทราบ
มาตรา ๑๒ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลต้อง
() ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() ไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและศีลธรรมอันดี
() ไม่สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลพ้นจากตำแหน่งยังไม่ครบหนึ่งปีและ
ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ห้ามมิให้ผู้นั้น
เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันสมัครเข้ารับเลือกตั้งหรือเข้ารับการสรรหา
แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๔ เมื่อมีการยุบและรวมเขตหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรชุมชนในหมู่บ้านเดิมที่ถูกยุบหรือถูกรวมยังคงเป็น
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลต่อไปจนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงตามวาระหรือพ้นจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุอื่น
เมื่อมีการแยกพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านใดขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชน
ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรชุมชนในหมู่บ้านเดิมยังคงเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ต่อไป โดยให้
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลที่มีภูมิลำเนาอยู่ของหมู่บ้านใดก็ให้เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนซึ่งเป็น
ผู้แทนองค์กรชุมชนของหมู่บ้านนั้น จนกว่าสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงตามวาระ และจัดให้มีการคัดเลือก
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรชุมชนให้ครบตามจำนวนที่กำหนด ทั้งในหมู่บ้านเดิม
และหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่
มาตรา ๑๕ ในคราวประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งแรก ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
เลือกกันเองเป็นประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาสองคนเป็นรองประธานสภาคนที่หนึ่ง
และรองประธานสภาคนที่สอง
มาตรา ๑๖ ประธานสภา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
() เรียกและดำเนินการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
() ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบลให้เป็นไปตามกติกาและมติของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล
() ออกกติกาและคำสั่งใด ๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการประชุม
() เป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
() แต่งตั้งเลขานุการสภาโดยความเห็นชอบของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
() อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
มาตรา ๑๗ รองประธานสภา มีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็น
อำนาจหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย
มาตรา ๑๘ เลขานุการสภา มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม และงานอื่นใด
ตามที่สภาองค์กรชุมชนตำบลมอบหมาย
มาตรา ๑๙ สภาองค์กรชุมชนตำบลต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง เพื่อดำเนินการ
ให้เป็นไปตามภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบลนั้น
นอกจากการประชุมตามวรรคหนึ่ง เมื่อสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยื่นหนังสือร้องขอให้เปิดการประชุม ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล
ต้องจัดให้มีการประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
มาตรา ๒๐ การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๑ ให้สภาองค์กรชุมชนตำบล มีภารกิจดังต่อไปนี้
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
() เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกัน
ในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
() เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไขและการพัฒนาต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนอันเกี่ยวกับ
การจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือกันของประชาชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าว
มาประกอบการพิจารณาด้วย
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็งและสมาชิกองค์กรชุมชน
รวมตลอดทั้งประชาชนทั่วไปในตำบลสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
() ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น
() รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงานใด ๆ ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ โดยรายงานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) วางกติกาในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
(๑๑) จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมถึงสถานการณ์ด้านต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
(๑๒) เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล จำนวนสองคน
มาตรา ๒๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐส่งเสริม สนับสนุน และ
ให้ความร่วมมือ รวมตลอดทั้งชี้แจงทำความเข้าใจแก่สภาองค์กรชุมชนตำบลและชุมชนทุกประเภทตามที่ร้องขอ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ในเขตอาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่าย
ในการดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กำหนด
ในการกำหนดตามวรรคสองให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นหารือกับสถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ด้วย
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติภารกิจตามมาตรา ๒๑ สภาองค์กรชุมชนตำบลอาจตั้งคณะกรรมการขึ้น
เพื่อปฏิบัติภารกิจแทนก็ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
หมวด ๒
การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๔ ให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยปีละ
หนึ่งครั้ง เพื่อดำเนินการตามมาตรา ๒๗
เมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดในจังหวัด
เข้าชื่อกันร้องขอให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาและเสนอแนะเรื่องหนึ่งเรื่องใดอันอยู่ในภารกิจของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการจัดให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของ
สภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจดำเนินการจัดให้มีการประชุม
ในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล
() เมื่อมีกรณีที่จะจัดทำหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาจังหวัด
() เมื่อเห็นเป็นการสมควรที่จะรับฟังความคิดเห็นของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๖ ในการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล บุคคลดังต่อไปนี้
ย่อมมีสิทธิเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นและลงมติ
() ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลตามที่ได้รับการเสนอรายชื่อตามมาตรา ๒๑ (๑๒)
() ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดซึ่งผู้แทนของสภาองค์กรชุมชนตำบลตาม ()
คัดเลือกให้เชิญมาร่วมประชุมมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในห้าของผู้แทนของสภาองค์กรชุมชนตาม ()
หลักเกณฑ์การเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ให้เป็นไปตามกติกาของที่ประชุมของผู้แทน
ตาม ()
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย อาจเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมได้
มาตรา ๒๗ ให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
() เสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
() เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนในเรื่องการจัดทำ
บริการสาธารณะและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
() ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำ บล
เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
() เสนอข้อคิดเห็นในเรื่องที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดปรึกษา
() เสนอรายชื่อผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคน เพื่อไปร่วมประชุม
ในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๒๘ ให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลเลือกกันเองเป็นประธาน
ที่ประชุมคนหนึ่งและรองประธานที่ประชุมคนหนึ่ง
ให้นำความในมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับกับการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กร
ชุมชนตำบลด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๙ องค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
จัดประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามที่กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นกำหนด
หมวด ๓
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๓๐ ในปีหนึ่งให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดให้มีการประชุม
ในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
มาตรา ๓๑ ในการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมมีสิทธิเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นและลงมติ
() ผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลตามที่ได้รับการเสนอรายชื่อตามมาตรา ๒๗
() ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลตาม () เสนอให้เชิญมา
ร่วมประชุมมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในห้าของผู้แทนตาม ()
หลักเกณฑ์การเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ให้เป็นไปตามกติกาของที่ประชุมของผู้แทน
ตาม ()
มาตรา ๓๒ ให้ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
() กำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการพัฒนาสภาองค์กรชุมชน
ในระดับตำบลให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้เพื่อเสนอให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
() ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สังคมและกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
() สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ
มาตรา ๓๓ การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลให้ที่ประชุมเลือกกันเอง
เป็นประธานที่ประชุมคนหนึ่งและรองประธานที่ประชุมคนหนึ่ง
ให้นำความในมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับกับการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลด้วย
โดยอนุโลม
หมวด ๔
การส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
มาตรา ๓๔ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กำหนดข้อบังคับการอุดหนุน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดประชุมในระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับตำบลของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามควรแก่กรณี

มาตรา ๓๕ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มีการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่อง
ดังต่อไปนี้ด้วย
() ประสานและดำเนินการให้มีการจัดตั้งและดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบล
รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบลและผลการประชุมของ
การประชุมระดับจังหวัดและระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล
() รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับงานของสภาองค์กรชุมชนตำบล
() ประสานและร่วมมือกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมในการดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
() จัดทำทะเบียนกลางเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบล
() ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติจัดตั้งและดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนและผลการประชุม
ในทุกระดับแล้วเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติและรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
() ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติหรือรัฐมนตรี
มอบหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น